ประวิตร วอนชาว จะนะ อย่ารีบร้อน หลังนัดรวมตัวทวงสัญญารัฐบาลหน้าทำเนียบ ต้องถามประชาชนทุกฝ่าย จึงทำให้ล่าช้า #saveจะนะ – พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน หรือ คฝ. ได้เข้าสลายการชุมนุมกลุ่ม “จะนะรักษ์ถิ่น” ที่ช่วงเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 6 ธันวาคม
หลังจากที่กลุ่มดังกล่าวได้ รวมตัวเรียกร้อง
ให้รัฐบาลทำตามข้อตกลงกรณีปัญหานิคมอุตสาหกรรมจะนะให้ครบถ้วน ตามที่ได้รัฐบาลได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้กับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ปี 2563 โดย พล.อ.ประวิตร ระบุว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างทำประชาพิจารณ์โดยทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ จึงทำให้ล่าช้า แต่ทางกลุ่มรีบร้อน เพราะเรื่องนี้ต้องถามประชาชนทุกฝ่ายทั้งหมด
ซึ่งผู้สื่อข่าวได้ถามเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้เคยอยู่ในความรับผิดชอบของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ จะทำให้การดำเนินการจากนี้ติดขัดหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ติด เวลานี้ ติดแค่ประชาพิจารณ์
โฆษกรัฐบาลสวน “เพื่อไทย” อย่าใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองดิสเครดิตรัฐบาล แจงทุกมาตรการอยู่บนความเป็นไปได้ของงบประมาณและไม่บิดเบือนกลไกตลาด เผย 9 ธ.ค.ชาวนาทั่วประเทศในโครงการฯ เตรียมรับเงินโอนส่วนต่างรายได้งวด 3-7 เหน็บให้ข้อมูลประชาชนต้องรอบด้าน
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ชาวนาไทยทุกข์ยากลำบาก แต่รัฐบาลไม่เคยใส่ใจ พรรคเพื่อไทยจะฟื้นศักดิ์ศรีให้ชาวนาไทยกลับมายืนตรงมองฟ้าอย่างองอาจอีกครั้งว่า ขอให้นายแพทย์ชลน่านยึดข้อเท็จจริง อย่าใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อดิสเครดิตรัฐบาล ยืนยันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดูแลพี่น้องคนไทยทุกอาชีพ โดยเฉพาะเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งล่าสุด ธกส. พร้อมโอนเงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนา ทั้ง 2 โครงการ ทั้งประกันรายได้ข้าว ปี 64/65 งวดที่ 3-7 เริ่ม 9 ธ.ค. นี้ มูลค่า 6.4 หมื่นล้านบาท และอุดหนุนค่าปรับปรุงพันธุ์ข้าวโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในวันที่ 13 ธ.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายค้านติดตามผลงานรัฐบาลด้วยใจที่ไม่อคติก็จะทราบว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ดูแลแค่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเท่านั้น แต่ยังมีการช่วยเหลือพี่น้องพืชเกษตรชนิดอื่น ๆ รวมทั้งมาตรการประกันรายได้ให้กับเกษตรในพืชอีก 4 ชนิดทั้งปาล์ม มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในรอบ 3 ปีนี้ (2562 – 2564) คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบงบประมาณอุดหนุนประกันรายได้ จ่ายส่วนต่างราคาสินค้าพืชเกษตร 5 ชนิด รวมยอดไปแล้วกว่า 276,193 ล้านบาท
ผวา! พบกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูงผู้ป่วย โอมิครอน ติดโควิดหนึ่งราย
รมช.สาธารณสุข ได้ออกมาเปิดเผยว่า พบผู้ติดโควิดเพิ่ม 1 รายในกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงสูงผู้ป่วย โอมิครอน รอตรวจเพิ่มเติมว่าติดโอมิครอนหรือไม่ นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ตรวจพบชาวอเมริกันที่เดินทางจากมาจากประเทศสเปนติดที่โควิดที่มีความเป็นไปได้สูงว่าคือโควิดโอมิครอน ว่าเบื้องต้นพบกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง 1 ราย ใน 17 ราย ป่วยเป็นโรคโควิด-19 ส่วนอีก 16 รายที่เหลือผลตรวจเบื้องต้นเป็นลบ
ซึ่ง 1 รายที่มีผลเป็นบวก เป็นเจ้าหน้าที่โรงแรม ที่เป็นผู้ส่งอาหารให้นักท่องเที่ยวชาวสหรัฐฯคนดังกล่าว โดยดำเนินการสอบสวนโรคกับเจ้าหน้าที่โรงแรมรายนี้แล้ว พร้อมกับนำผลบวกนั้นไปตรวจสอบว่าเป็นเชื้อโอมิครอนหรือไม่
เบื้องต้นผู้ป่วยคนดังกล่าวได้เข้ารักษาตัว ที่สถาบันบําราศนราดูรแล้ว ทั้งนี้ ในส่วนการสอบสวนโรคจะต้องแยกเป็น 2 ประเด็นคือ ดูว่าเขาติดเชื้อโควิดจากการเดินทางกลับต่างจังหวัด ที่ จ.อุบลราชธานีหรือไม่ หรือติดเชื้อโควิดมาจากนักท่องเที่ยวชาวสหรัฐฯ โดยต้องรอผลการตรวจเชื้อว่าเป็นโอมิครอนหรือไม่ประมาณ 3-4 วัน
หากพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนในประเทศไทย จะรีบรายงานนายกรัฐมนตรีทันที นายกฯ ได้เรียกประชุมเพื่อตัดสินใจอย่างไรหรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า นายกฯรับทราบข้อมูลแล้ว และทางกระทรวงสาธารณสุขจะประสานเป็นระยะว่า จะประเมินสถานการณ์และต้องตัดสินใจอย่างไร ขณะนี้เรายังต้องเดินหน้าระบบคัดกรองอย่างเข้มงวด ส่วนนายกฯยังไม่ได้เรียกประชุม เพื่อประเมินสถานการณ์โอมิครอนแต่อย่างใด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่า โครงการประกันรายได้ไม่ส่งเสริมการลดต้นทุน ไม่ส่งเสริมการผลิต และไม่ส่งเสริมการตลาด เป็นเพียงการชดเชยส่วนต่าง ซึ่งแตกต่างกับโครงการรับจำนำข้าว ที่เป็นการเข้าจัดการกลไกราคาตลาด ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้นนั้น ทุกมาตรการของรัฐบาลอยู่บนความเป็นไปได้ของงบประมาณ ไม่บิดเบือนกลไกตลาด เป้าหมายสำคัญคือ พัฒนาศักยภาพชาวนา ลดต้นทุนการปลูกข้าว ส่งเสริมความหลากหลายพันธุ์ข้าว สร้างความเข้มแข็งให้ข้าวไทยกลับมามีความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ บูรณาการมาตรการช่วยเหลือชาวนาครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิตข้าวทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ทั้งก่อนปลูก ระหว่างปลูก และหลังปลูก รวมทั้งช่วยจัดหาปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกข้าว เช่น การจัดหาพันธุ์ข้าว การจัดหาปุ๋ย การจัดสรรที่ดินทำกิน โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่ ส่วนหลังการเพาะปลูกยังมีโครงการชะลอการขายข้าว หรือจำนำยุ้งฉาง โครงการการลดดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการอย่างโรงสีเก็บข้าวไว้ในสต็อก รวมไปถึงการส่งเสริมองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว การปลูกพืชผสมผสาน หรือความพยายามช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาที่ไม่เหมาะสมให้ไปทำเกษตรอย่างอื่น
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป